วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตัวชี้วัด ม.1

                                ตัวชี้วัดรายวิชา  คณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1


ข้อที่
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1
นำความรู้และสมบัติเกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในการแก้ปัญหา
- ห.ร.ม. และ ค.ร.น.ของจำนวนนับและการนำไปใช้

2
2.1 ระบุหรือยกตัวอย่างและเปรียบเทียบ
      จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ และ ศูนย์2.2 บวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม และ
      นำไปใช้แก้ปัญหา ตระหนักถึงความ
      สมเหตุสมผลของคำตอบ อธิบายผลที่
      เกิดขึ้นจากการบวก การลบ การคูณ การ
      หาร และบอกความสัมพันธ์ของการบวก
      กับการลบ การคูณกับการหารของ
      จำนวนเต็ม
2.3  นำความรู้และสมบัติเกี่ยวกับจำนวนเต็ม
      ไปใช้ในการแก้ปัญหา
- จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ ศูนย์  
  
-  การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม เศษส่วนและ   ทศนิยม
-  การบวก  การลบ การคูณ และการหาร   จำนวนเต็ม
-  โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนเต็ม





-  การนำความรู้และสมบัติเกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้
3
3.1 อธิบายผลที่เกิดขึ้นจากการยกกำลังของ
      จำนวนเต็ม เศษส่วนและทศนิยม
3.2 คูณและหารเลขยกกำลังที่มีฐานเดียวกัน
      และเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม
3.1 เข้าใจเกี่ยวกับเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลัง
     เป็นจำนวนเต็ม และเขียนแสดงจำนวนให้
    อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
- เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม

- การคูณและการหารเลขยกกำลังที่มีฐาน
   เดียวกัน และเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม
- การเขียนแสดงจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
 ( A ´ 10 เมื่อ 1  A< 10  และ   n เป็นจำนวนเต็ม )
  4
4.1 สร้างและบอกขั้นตอนการสร้างพื้นฐาน
      ทางเรขาคณิต
- การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต(ใช้วงเวียนและ
   สันตรง)
1) การสร้างส่วนของเส้นตรงให้ยาวเท่ากับความ
    ยาวของส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้
2) การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้
3) การสร้างมุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของมุมที่
     กำหนดให้
4) การแบ่งครึ่งมุมที่กำหนดให้



ข้อที่
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง





4.2 สร้างรูปเรขาคณิตสองมิติโดยใช้การ
      สร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต และบอก
     ขั้นตอนการสร้างโดยไม่เน้นการพิสูจน์
4.2 สืบเสาะ สังเกต และคาดการณ์เกี่ยวกับ
      สมบัติทางเรขาคณิต
5) การสร้างเส้นตั้งฉากจากจุดภายนอกมายังเส้นตรง
    ที่กำหนดให้
6) การสร้างเส้นตั้งฉากที่จุดจุดหนึ่งบนเส้นตรงที่
    กำหนดให้
- การสร้างรูปเรขาคณิตสองมิติโดยใช้การสร้างพื้นฐาน
   ทางเรขาคณิต (ใช้วงเวียนและสันตรง)

- สมบัติทางเรขาคณิตที่ต้องการการสืบเสาะ สังเกต และคาดการณ์ เช่นขนาดของมุมตรงข้ามที่เกิดจากส่วนของเส้นตรงสองเส้นตัดกัน และมุมที่เกิดจากการตัดกันของเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม



                                ตัวชี้วัดรายวิชา  คณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2


ข้อที่
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1
1.1 ระบุหรือยกตัวอย่างและเปรียบเทียบ
       เศษส่วนและทศนิยม
1.2 บวก ลบ คูณ หารเศษส่วนและทศนิยม
       และนำไปใช้แก้ปัญหาตระหนักถึงความ
      สมเหตุสมผลของคำตอบ อธิบายผลที่
      เกิดขึ้นจากการบวก การลบ การคูณ การ
     หารและบอกความสัมพันธ์ของการบวก
     กับการลบ การคูณกับการหารของ
     เศษส่วนและทศนิยม
-การเปรียบเทียบ เศษส่วนและทศนิยม

- การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วนและ
  ทศนิยม
- โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเศษส่วนและทศนิยม
2
ใช้การประมาณค่าในสถานการณ์ต่าง ๆได้
 อย่างเหมาะสม รวมถึงใช้ในการพิจารณา
 ความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้จากการ
 คำนวณ
- การประมาณค่าและการนำไปใช้
3
3.1 เขียนกราฟบนระนาบในระบบพิกัดฉาก
      แสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองชุด
      ที่กำหนดให้
3.2 อ่านและแปลความหมายของกราฟบน
      ระนาบในระบบพิกัดฉากที่กำหนดให้
- กราฟบนระนาบในระบบพิกัดฉาก
4
4.1 วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของ
       แบบรูปที่กำหนดให้
4.2 แก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวอย่างง่าย
4.3 เขียนสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวจาก
      สถานการณ์ หรือปัญหาอย่างง่าย
4.4 แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัว
      แปรเดียวอย่างง่าย พร้อมทั้งตระหนักถึง
      ความสมเหตุสมผลของคำตอบ
- ความสัมพันธ์ของแบบรูป

- สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- การเขียนสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวจากสถานการณ์
  หรือปัญหา
- โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว





ข้อที่
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
5
5.1 อธิบายลักษณะของรูปเรขาคณิตสามมิติ
      จากภาพที่กำหนดให้
5.2 ระบุภาพสองมิติที่ได้จากการมองด้าน
      หน้า(front view )ด้านข้าง(side view )
      หรือด้านบน(top view ) ของรูปเรขา
      คณิตสามมิติที่กำหนดให้
5.3 วาดหรือประดิษฐ์รูปเรขาคณิตสามมิติ
       ที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ เมื่อกำหนด
       ภาพสองมิติที่ได้จากการมองด้านหน้า
       ด้านข้างและด้านบนให้
-  ภาพของรูปเรขาคณิตสามมิติ

- ภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า(front view )
   ด้านข้าง(side view ) หรือด้านบน(top view )
   ของรูปเรขาคณิตสามมิติ

- การวาดหรือประดิษฐ์รูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบ
  ขึ้นจากลูกบาศก์ เมื่อกำหนดภาพสองมิติที่ได้จากการ
   มองด้านหน้า  ด้านข้างและด้านบนให้



                                                                                หน่วยการเรียนรู้
                                         รหัสวิชา    ค 21101               รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน
                                                                    ชั้นมัธยศึกษาปีที่ 1



หน่วยที่
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
จำนวนคาบ
1
2
3
4
... และ ค...
ระบบจำนวนเต็ม
เลขยกกำลัง
พื้นฐานทางเรขาคณิต(รวมการสร้างพื้นฐาน)
7
25
14
15

                                    

                                                                                หน่วยการเรียนรู้
                                         รหัสวิชา   ค 21102                   รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน
                                                                    ชั้นมัธยศึกษาปีที่ 1



หน่วยที่
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
จำนวนคาบ
1
2
3
4
5
เศษส่วนและทศนิยม
การประมาณค่า
คู่อันดับและกราฟ
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
20
7
8
15
10


 

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
มัธยมศึกษาปีที่  1  ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา ค 21101 รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน จำนวน  3 ชั่วโมง/ สัปดาห์  จำนวน  1.5   หน่วยกิต
คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษา ฝึกทักษะ / กระบวนการในสาระต่อไปนี้
                ห.ร.ม. และ ค.ร.น. การหา ห.ร.ม.ของจำนวนนับ การหา ค.ร.น.ของจำนวนนับ การแก้ปัญหาโดยใช้ ห.ร.ม.และ ค.ร.น.
                จำนวนเต็ม  จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ และศูนย์ การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม การบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็ม สมบัติของจำนวนเต็มและการนำไปใช้
                เลขยกกำลัง ความหมายของเลขยกกำลัง การเขียนแสดงจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์การคูณและหารเลขยกกำลังที่มีฐานเดียวกันและเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม
พื้นฐานทางเรขาคณิต การสร้างรูปเรขาคณิตโดยใช้วงเวียนและสันตรง  การสร้างรูปเรขาคณิตอย่างง่ายโดยใช้การสร้างพื้นฐาน การสำรวจสมบัติทางเรขาคณิต
                โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยการปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ / กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ
ระเบียบ มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
                การวัดและประเมินผล ใช้วิธีการที่หลากหลายตามสภาพความเป็นจริงให้สอดคล้องกับเนื้อหาและทักษะที่ต้องการวัด




กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
มัธยมศึกษาปีที่  1  ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา ค 21102 รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน จำนวน  3 ชั่วโมง/ สัปดาห์  จำนวน  1.5   หน่วยกิต
คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษา ฝึกทักษะ / กระบวนการในสาระต่อไปนี้
                เศษส่วนและทศนิยม  การเขียนเศษส่วนด้วยทศนิยมและเขียนทศนิยมซ้ำเป็นเศษส่วน
การเปรียบเทียบเศษส่วนและทศนิยม  การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนและทศนิยม  โจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์เกี่ยวกับเศษส่วนและทศนิยม 
                การประมาณค่า การประมาณค่าในสถานการณ์ต่าง ๆ การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้การประมาณค่า
                คู่อันดับและกราฟ คู่อันดับ กราฟ การนำไปใช้
                สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว แบบรูปและความสัมพันธ์ คำตอบของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้สมบัติของการเท่ากัน โจทย์สมการเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
                ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ภาพของรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการคลี่รูปเรขาคณิตสามมิติ ภาพสองมิติที่ได้จากการมองทางด้านหน้า(front view )ด้านข้าง(side view ) หรือด้านบน(top view ) ของรูปเรขาคณิตสามมิติ  การวาดหรือประดิษฐ์รูปเรขาคณิตที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์
                โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยการปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ / กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ
ระเบียบ มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
                การวัดและประเมินผล ใช้วิธีการที่หลากหลายตามสภาพความเป็นจริงให้สอดคล้องกับเนื้อหาและทักษะที่ต้องการวัด